วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

ภูมิปัญาท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ ร่มกระดาษสาไม่เลือนลางไปตามกาลเวลา


จากลำไผ่ไหวเอนส่งเสียงเอียดออดยามต้องลมแรงมาเป็นก้านร่ม และโครงร่ม กระดาษสาซื่งทำมาจากเปลือกไม้หุ้มต้น รวมกันเป็นร่มกระดาษสา ที่ซึ่งทอดเงากันแดดฝนมานานนับศตวรรษ ด้วยคุณค่าและเอกลักษณ์อันงดงาม ร่มกระดาษสาบ่อสร้างจึงเป็นมรดกแผ่นดินที่ชาวเชียงใหม่ทุกคนหวงแหนและภาคภูมิใจ การทำร่มกระดาษสาบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง นี้มีกรรมวิธีผลิตที่ค่อนข้างซับซ้อน ที่สืบทอดกันมาจากความคิดค้นสร้างสรรค์ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นอันยาวนาน สืบทอดมีความเป็นมาและวิวัฒนาการจนมาเป็นร่มกระดาษสาที่เราได้เห็นในปัจจุบัน เอกลักษณ์ของร่มกระดาษสานี้ ก็คือกรรมวิธีในการผลิตต้องอาศัยความชำนาญ และฝีมืออย่างสูง อีกทั้งฝีมือในการแต่งแต้มลวดลายอันงดงามเป็นเอกลักษณ์ด้วย "บ่อสร้างกางจ้อง" คำว่า จ้อง นี้เป็นภาษาเหนือแปลว่าร่ม ซึ่งมีการใช้จนติดปากดังเช่นในเพลงยอดนิยมของ ทอม ดันดีเลยทีเดียว "สาวน้อยกางจ้อง" นี้ก็หมายถึง สาวสวยเชียงใหม่ในชุดผ้าไหมผื้นเมือง กางร่ม ที่ปรากฎกายให้เห็นในขบวนแห่งและงานต่าง ๆ ของเชียงใหม่ รวมทั้งอยู่ในภาพโปสเตอร์ต่าง ๆ จนกลายเป็นสัญลักษณ์ของถิ่นไทยงามไปแล้ว
ส่วนประกอบสำคัญ
ส่วนประกอบสำคัญของร่มกระดาษสานั้นมีอยู่หลายอย่างด้วยกัน ได้แก่
- หัวร่มหรือกำพู คือ ส่วนที่อยู่บนสุดของคันร่ม ทำด้วยไม้เนื้ออ่อน
- ตุ้มร่ม คือ ส่วนที่ประกอบกับซี่ร่มสั้น อยู่ด้านล่าง มีลักษณะเดียวกับหัวร่ม
- ซี่ร่ม แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ซี่ร่มสั้นและซี่ร่มยาว จัดเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของร่ม โดยซี่ร่มสั้นเป็นส่วนที่อยู่ติดกับตุ้มร่ม ทำหน้าที่เป็นตัวค้ำยันซี่ร่มยาว ร่มจะหุบหรือการได้ก็ขึ้นอยุ่กับซี่ร่มนี้เอง ซึ่งจะนำมาประกอบกับหัวร่มด้วยการใช้เชือกมัด ส่วนของซี่ร่มนี้ใช้ไม้ไผ่ทำเนื่องจากไม้ไผ่สามารถนำมาตัดซอยเป็นซี่เล็ก ๆ ได้ง่าย
- คันร่ม คือ ส่วนที่เป็นด้ามใช้สำหรับถือ ตรงด้านบนใกล้ ๆ ตุ้มร่มที่ประกอบติดกับซี่ร่มสั้นมีลวดสลักในรูสำหรับยึดซี่ร่มไม่ให้หุบลงเวลากางออกและเมื่อกดลวดสลักลงกลับในรู ร่มก็จะหุบเพราะตุ้มร่มจะรูดลงมา ส่วนของคัดร่มนี้ทำด้วยไม้ไผ่หรือไม้เนื้ออ่อนชนิดอื่น
- กระดาษสาสำหรับปิดร่ม คือ ส่วนสำคัญที่ใช้สำหรับกันแดดกันฝน
อุปกรณ์สำคัญ
ปัจจุบันมีการนำกระดาษจีนสีน้ำตาลมาใช้แทนกระดาษสา เนื่องจากต้นทุนการผลิตถูกกว่ากระดาษสามาก ทั้งยังไม่ต้องมานั่งเขียนลายเพราะพิมพ์ลายมาจากโรงงานผลิตอยู่แล้ว แต่ถึงอย่างไรก็ไม่สวยงามและดูละเอียดลออกเท่ากระดาษสา
อุปกรณ์ในการทำร่มกระดาษสามีอยู่มากมายอย่างด้วยกันดังนี้
- ไม้ไผ่ สำหรับนำไปทำซี่ร่มต้องเลือกไม้ไผ่ที่มีเนื้อไม้หนาไม่น้อยกว่า 0.5 เซนติเมตร ปล้องไม้ไผ่ต้องยาวกว่า 60 เซนติเมตร คือ ต้องใช้ไม้ไผ่แก่ที่มีอายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป เพราะเมื่อแห้งแล้วเนื้อไม้จะหดตัวน้อย ตัวมอดก็ไม่ค่อยมากัดกิน
- ไม้เนื้ออ่อน อาทิ ไม้ส้มเห็ดไม้โมกมัน ไม้ตะแบก ฯลฯ สำหรับทำร่มและตุ้มร่ม หรืออาจใช้ทำคันร่มก็ได้
- กระดาษปิดร่ม เช่น กระดาษสา กระดาษจีน หรือกระดาษเนื้อนิ่มแต่ถึงอย่างไรก็ต้องใช้กระดาษสาปิดชั้นแรกก่อน
- น้ำยางตะโกหรือน้ำยางมะค่า สำหรับติดกระดาษสาลงทับซี่ร่ม
- น้ำมันยาง ใช้สำหรับทาทับกระดาษให้ทนแดดทนฝน อุดรูรั่ว (ถ้ามี) บนเนื้อกระดาษ ปัจจุบันที่บ่อสร้างเปลี่ยนมาใช้น้ำมันบะหมื้อหรือที่คนจีน เรียกว่า น้ำมันตังอิ๊วแทน
- น้ำมันมะเดื่อ สำหรับทากระดาษสาบริเวณหัวร่มให้เกิดความเหนียวทนทาน
- สีน้ำมัน ใช้สำหรับแต่แต้มสีสันบนกระดาษปิดร่มและพู่กัน สำหรับเขียนสี
- น้ำมันก๊าด สำหรับผสมสี
- ด้ายดิบ ใช้สำหรับร้อยประกอบส่วนต่าง ๆ ของร่ม โดยต้องนำมากรอเป็นเส้นและตีควบเป็นเกลียวตามขนาดที่ต้องการ
- ใบลาน ใช้สำหรับทำปลอกสวมหัวร่ม อาจใช้ใบตาลหรือกระดาษหนา ๆ ก็ได้
- ตอกไม้ไผ่ ใช้สำหรับทำห่วงรัดร่ม โดยนำมาขดเป็นวงกลมและนำกระดาษสามาพันรอบ ๆ ชุดบด้วยน้ำยางกะโกแล้วตากแดดจนแห้ง ห่วงรัดร่มนี้ใช้สำหรับรัดร่มเวลาหุบ
- เส้นหวายขนาดเล็ก ใชัพันตรงปลายคันร่มด้านล่างสำหรับเป็นที่จับใช้เฉพาะกับคันร่มที่เป็นไม้ไผ่ ถ้าใช้ไม้เนื้ออ่อนทำคันร่มก็จะกลึงคันร่มให้มีที่ถือไปในตัว โดยไม่ต้องใช้เส้นหวายพันอีกชั้นหนึ่ง
- สว่าน ใช้สำหรับเจาะรูซี่ร่ม
- เครื่องกลึง มีทั้งเครื่องกลึงไม้แบบโบราณและแบบปัจจุบันที่เป็นมอเตอร์ ใช้สำหรับกลึงส่วนหัวร่มและตุ้มร่ม
- มีด ใช้สำหรับเหลาคมไม้ไผ่ ควรใช้มีดคนที่จับถนัดมือ
การทำร่มกระดาษสาต้องอาศัยความชำนาญและฝึกปรือฝีมือมากพอสมควร เพราะกรรมวิธีในการทำแต่ละขั้นนั้นค่อนข้างพิถีพิถันละเอียดลออเรียกว่าคนใจร้อน ชอบทำอะไรบุ่มบ่าม จะไม่มีโอกาสหยิบจับสร้างสรรค์งานศิลปหัตถกรรมประเภทนี้ได้เลย เคยมีคนจำนวนมากต้องหันหลังให้กับการทำร่มกระดาษ เพราะไม่มีความมานะอดทนเพียงพอ

การศึกษาหน้าตัดทางธรณีเทคนิคของพื้นที่พรุ ในเขตจังหวัดนราธิวาส


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ติดตามการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2536 ทอดพระเนตรการจัดทำคำบรรยายหน้าตัดดินของดินเปรี้ยวจัดในแปลงการศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดินกรดกำมะถัน และมีพระราชดำริให้ศึกษาลักษณะหน้าตัดดินในพื้นที่พรุ ลึกลงไปถึงชั้นหินแข็ง เพื่อให้ทราบคุณสมบัติของดินในชั้นต่างๆ สำหรับเป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาวิธีการทำฐานรากของสิ่งก่อสร้างในพื้นที่พรุให้เหมาะสมและมีราคาถูกตลอดจนเปรียบเทียบลักษณะชั้นดินในพรุบริเวณต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านวิศวกรรม สำหรับพื้นที่พรุอื่นๆ ได้คัดเลือกพื้นที่พรุในจังหวัดนราธิวาส 5 บริเวณ เพื่อเป็นตัวแทนในการศึกษาดังนี้
1) บริเวณพรุบาเจาะ
2) บริเวณพรุกาบแดงด้านอำเภอสุไหงโกลก
ดำเนินการเจาะดินโดยใช้วิธีเจาะแบบฉีดล้าง (Wash boring)
ในขณะที่หัวเจาะกระแทกดินในหลุมเจาะให้แตกเป็นชิ้นเล็กๆ น้ำจะถูกอัดฉีดผ่านก้านเจาะลงไปที่ก้นหลุม แล้วอัดพาเอาดินขึ้นมาตามผนังหลุมเจาะภายในปลอกเหล็ก จากนั้นจะแยกตะกอนดินไปลงบ่อตกตะกอน ส่วนน้ำจะหมุนเวียนนำกลับไปใช้ใหม่อีก ในระหว่างการเจาะจะเก็บตัวอย่างดินที่ระดับความลึกต่างๆ เป็น 2 ลักษณะ คือ
ดินชนิดเนื้อละเอียด เป็นดินอ่อนหรือมีความแข็งปานกลางจะเก็บในลักษณะสภาพธรรมชาติด้วยกระบอกเก็บตัวอย่างแบบกระบอกฝา ซึ่งจะไม่สามารถรักษาสภาพโครงสร้างเดิมได้ ตัวอย่างที่เก็บจะนำไปทดสอบและวิเคราะห์คุณสมบัติด้านวิศวกรรมและเคมีในขณะเดียวกัน จะทดสอบคุณสมบัติด้านวิศวกรรมในสนามควบคู่กันไปด้วยผลการศึกษา การเกิดพรุและลำดับการตกตะกอนบริเวณพรุบาเจาะ พรุบริเวณนี้น่าจะเริ่มเกิดจากน้ำทะเลไหลเข้ามาในพื้นที่ลักษณะน้ำขึ้นน้ำลงที่พบเป็นร่องน้ำเดิม จากนั้นก็แพร่กระจายไปเต็มครอบคลุมทั้งบริเวณ มีการสะสมของตะกอนทะเลบนหินพื้นล่าง การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลทำให้เกิดป่าชายเลนเป็นแห่งๆ ตามพื้นที่ที่สูงกว่า โดยจะพบตะกอนของดินป่าชายเลนแทรกสลับอยู่กับชั้นตะกอนทะเล เมื่อน้ำทะเลไม่สามารถเข้ามาได้อีก จึงเกิดสภาพพื้นที่พรุมีการสะสมของอินทรีย์วัตถุในชั้นบนคุณสมบัติทางวิศวกรรมบริเวณพรุบาเจาะ การใช้ฐานรากตื้นในบริเวณพื้นที่พรุบาเจาะ จะต้องระมัดระวังมาก เนื่องจากชั้นดินอินทรีย์ในแต่ละจุดมีความลึกแตกต่างกันมาก บางจุดมีชั้นดินอินทรีย์อยู่ด้านล่าง การวางฐานรากตื้นจึงควรเจาะสำรวจก่อนทุกจุด ในบางบริเวณอาจลึกถึง 7 - 8 เมตร ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง การใช้เสาเข็มเป็นฐานรากก็ต้องระมัดระวังเช่นกัน เนื่องจากชั้นทรายที่อยู่ด้านล่างไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากการสะสมตะกอนแตกต่างกัน โดยเฉลี่ยจะลึกประมาณ 15 - 20 เมตร

วันพุธที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ใช้ "แผน" เป็นเครื่องมือชี้นำการดำเนินงานเพื่อสนองพระราชดำริ


การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ใช้ "แผน" เป็นเครื่องมือชี้นำการดำเนินงานเพื่อสนองพระราชดำริ โดยมีแนวทางการดำเนินงานหลักตามแผนงานต่างๆ ดังนี้

1.แผนงานศึกษา ทดลอง วิจัย
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สำรวจ ทดลอง วิจัยเกี่ยวกับเรื่องดิน น้ำ ป่าไม้ในพื้นที่พรุ การพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรม และการศึกษาทดลองวิจัย ตามพระราชดำริเฉพาะเรื่อง โดยเน้นการศึกษาทดลองที่มุ่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ใช้เวลาสั้นและประหยัด เพื่อให้ได้รูปแบบแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมและเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม จะคำนึงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่นและความหลากหลายทางชีวภาพแระกอบไปด้วย
2. แผนงานขยายผลการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี
มีวัตถุประสงค์เพื่อนำผลการศึกษา สำรวจ ทดลอง วิจัยที่ประสบผลสำเร็จแล้วไปขยายผลให้กับเกษตรกรและประชาชน โดยการฝึกอบรม สาธิต และส่งเสริมเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ได้รู้และเข้าใจ พร้อมทั้งนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยให้ความสำคัญกับการยกระดับอาชีพและรายได้ ทั้งในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร ทั้งนี้ในการพัฒนาด้านต่างๆ ให้มีการเสริมสร้างความรู้และนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับท้องถิ่นมาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และนำมาซึ่งการเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรด้วย
3. แผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของบริการพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีวัติ ได้แก่ ความสะดวกในการคมนาคม น้ำและไฟฟ้าในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ศูนย์สาขาและหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ ให้ดีขึ้นตามความจำเป็นและเหมาะสมในแต่ละท้องถิ่น
4. แผนงานพัฒนาอาชีพและรายได้
มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในภาคการเกษตร โดยเฉพาะการทำการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ การทำการเกษตรยั่งยืนตามแนวทฤษฎีใหม่ การผลิตนอกภาคเกษตรในด้านหัตถกรรมและอุตสาหกรรมในครัวเรือน โดยมีการผลิคอย่างเป็นระบบและครบวงจรเพื่อยกระดับรายได้ให้กับประชาชนในหมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาฯ รวมทั้งเพื่อรองรับแรงงาน
5. แผนงานพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต
วัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายหลัก เพื่อพัฒนาคนและศักยภาพของคนในหมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาฯ โดยการจัดบริการสังคมและเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาคน ทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ สังคม อารมณ์และสติปัญญา เพื่อนำมาซึ่งความเข้มแข็งของชุมชนและครอบครัว ตลอดจนการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาส่วนรวมในระยะต่อไป กลับคืน
6. แผนงานพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่พรุ รวมทั้งฟื้นฟูพื้นที่ป่าพรุที่เสื่อมโทรมให้กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาและสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญ และการเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากนี้ในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติประเภทต่างๆ ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและเน้นในเชิงคุณภาพของการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ถิ่นเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ
7. แผนงานบริหารจัดการดำเนินงาน
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินงานของศูนย์ฯ มีความสอดคล้องครบถ้วนตามพระราชดำริอย่างมีประสิทธิภาพ มีรูปแบบการดำเนินงานตามจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์หลักของการจัดตั้งศูนย์ฯ อย่างแท้จริง โดยเฉพาะในเรื่องการดำเนินการในลักษณะสหวิทยาการ ศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต การร่วมกันปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ และการขยายผลไปสู่ประชาชน โดยการบริหารจัดการในระยะต่อไปควรเน้นการปรับปรุงบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ ให้ชัดเจน มีการกำหนดจุดมุ่งหมายการดำเนินงาน ร่วมกันพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการวางแผนการพัฒนาระบบข้อมูลเครื่องชี้วัด การพัฒนาความพร้อมของทรัพยากร และการพัฒนาระบบติดตามประเมินผลดถอยและเพื่อป้องกันการอพยพโยกย้ายกำลังแรงงานในพื้นที่

วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2551

โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี

“..ปัญหาสำคัญคือ เรื่องสิ่งแวดล้อม เรื่องน้ำเสียกับขยะ ได้ศึกษามาแล้วเหมือนกัน ทำไม่ยากนัก ในทางเทคโนโลยี ทำได้แล้ว ในเมืองไทยเองก็ทำได้ หาเทคโนโลยีจากต่างประเทศมา แล้วทำในเมืองไทยก็ทำได้ หรือจะจ้างบริษัทต่างประเทศมาทำก็ได้ นี่แหละปัญหาเดียวกัน เดี๋ยวนี้กำลังคิดจะทำ แต่ติดอยู่ที่ที่จะทำ...”
พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวข้างต้นนี้ คือที่มาของ “โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” จังหวัดเพชรบุรี ที่มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัยการกำจัดขยะและการบำบัดน้ำเสียชุมชน และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติควบคู่กันไป ด้วยทรงตระหนักดีว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบเป็นอย่างมาก และนับวันปัญหานี้ได้ทับถมทวีคูณมากยิ่งขึ้น ส่งผลต่อการดำรงชีพของประชาชนทั้งหลายที่ต้องประสบกับภาวะวิกฤตที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมอย่างรุนแรงและรวดเร็ว

โครงการส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มขนาดเล็ก

วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2550

บทความ Internet for executive


มื่อเข้ายุค ค.ศ. 2000 เริ่มศตวรรษใหม่ ยุคใหม่ ซึ่งนักบริหารควรจะเปลี่ยนแปลงชีวิต และการดำเนินกิจกรรมประจำวัน ในการงานอาชีพ ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ผันแปรชีวิตประจำวัน ให้เข้ากับยุคเทคโนโลยีข้อมูลสื่อสาร (Information Technology) โดยใช้เครื่องมือสำคัญที่สุดของยุคใหม่ คือ Internet บนคอมพิวเตอร์ส่วนตัว (Personal Computer)

Internet คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร
Internet คือเครื่องมือในการค้นหาข้อมูล จากคอมพิวเตอร์ทั่วโลก ที่ต่อเชื่อมโยงถึงกันหมดโดยผู้สร้างข้อมูล คือหน่วยงานตั้งแต่ระดับรัฐบาล จนกระทั่งเอกชน บริษัทต่างๆ จนถึงนักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป เพื่อเปิดเผยข่าวสาร การศึกษา โฆษณาสินค้า ขายสินค้าด้วย Category On-line เปรียบเสมือนห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก เราสามารถค้นหาความรู้ได้ จากแหล่งข้อมูลที่เรียกว่า Web Site ซึ่งมีจำนวนมหาศาล ด้วยโปรแกรมที่เรียกว่า Browser เช่น Internet Explorer ของ Microsoft หรือ Netscape Communication
ประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ของการสื่อสารด้วย Internet
1.
ประหยัดค่า Fax ค่าโทรทางไกลทั่วโลก เพราะเสียค่าสมาชิกต่ำมาก เสียแค่ค่าโทรศัพท์เพียง 1 ครั้ง ติดต่อกับศูนย์บริการใกล้บ้านท่าน เพื่อเชื่อมคอมพิวเตอร์ส่วนตัว เข้ากับศูนย์ (Internet Service Provide) ในประเทศไทย เช่น ของ Asianet, Loxinfo, JI-net, Samarts.com, AOL (ของอเมริกา), เชื่อมต่อด้วย Modem ความเร็วสูง 56 K ขึ้นไป สายโทรศัพท์ธรรมดา ก็ใช้ได้หรือถ้าจะให้ดีพ่วงสาย ISDN ความเร็วสูงสุด ไร้เสียงรบกวนจะยอดเยี่ยมมากยิ่งขึ้น แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเช่าคู่สายมากขึ้น
2. มี E-mail ส่วนตัวกี่เบอร์ กี่ชื่อก็ได้สามารถจดทะเบียนชื่อ Login Name และ Password รหัสลับ กับศูนย์บริการ เช่น Hotmail.com, Netscape.net ฯลฯ อีกมากมาย ขณะเดินทางไม่ต้องหิ้วคอมพิวเตอร ์ไปทั่วโลก สามารถใช้บริการเช่าเครื่องใช้ที่ Internet Cafe ตามศูนย์การค้า หรือโรงแรมทุกแห่งแล้วกด Login Name กับ Password ให้ตรงก็สามารถดู Mail และส่ง Mail ให้กับผู้คนทั่วโลกได้แล้ว
ที่มา : http://www.appservnetwork.com/