วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

การศึกษาหน้าตัดทางธรณีเทคนิคของพื้นที่พรุ ในเขตจังหวัดนราธิวาส


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ติดตามการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2536 ทอดพระเนตรการจัดทำคำบรรยายหน้าตัดดินของดินเปรี้ยวจัดในแปลงการศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดินกรดกำมะถัน และมีพระราชดำริให้ศึกษาลักษณะหน้าตัดดินในพื้นที่พรุ ลึกลงไปถึงชั้นหินแข็ง เพื่อให้ทราบคุณสมบัติของดินในชั้นต่างๆ สำหรับเป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาวิธีการทำฐานรากของสิ่งก่อสร้างในพื้นที่พรุให้เหมาะสมและมีราคาถูกตลอดจนเปรียบเทียบลักษณะชั้นดินในพรุบริเวณต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านวิศวกรรม สำหรับพื้นที่พรุอื่นๆ ได้คัดเลือกพื้นที่พรุในจังหวัดนราธิวาส 5 บริเวณ เพื่อเป็นตัวแทนในการศึกษาดังนี้
1) บริเวณพรุบาเจาะ
2) บริเวณพรุกาบแดงด้านอำเภอสุไหงโกลก
ดำเนินการเจาะดินโดยใช้วิธีเจาะแบบฉีดล้าง (Wash boring)
ในขณะที่หัวเจาะกระแทกดินในหลุมเจาะให้แตกเป็นชิ้นเล็กๆ น้ำจะถูกอัดฉีดผ่านก้านเจาะลงไปที่ก้นหลุม แล้วอัดพาเอาดินขึ้นมาตามผนังหลุมเจาะภายในปลอกเหล็ก จากนั้นจะแยกตะกอนดินไปลงบ่อตกตะกอน ส่วนน้ำจะหมุนเวียนนำกลับไปใช้ใหม่อีก ในระหว่างการเจาะจะเก็บตัวอย่างดินที่ระดับความลึกต่างๆ เป็น 2 ลักษณะ คือ
ดินชนิดเนื้อละเอียด เป็นดินอ่อนหรือมีความแข็งปานกลางจะเก็บในลักษณะสภาพธรรมชาติด้วยกระบอกเก็บตัวอย่างแบบกระบอกฝา ซึ่งจะไม่สามารถรักษาสภาพโครงสร้างเดิมได้ ตัวอย่างที่เก็บจะนำไปทดสอบและวิเคราะห์คุณสมบัติด้านวิศวกรรมและเคมีในขณะเดียวกัน จะทดสอบคุณสมบัติด้านวิศวกรรมในสนามควบคู่กันไปด้วยผลการศึกษา การเกิดพรุและลำดับการตกตะกอนบริเวณพรุบาเจาะ พรุบริเวณนี้น่าจะเริ่มเกิดจากน้ำทะเลไหลเข้ามาในพื้นที่ลักษณะน้ำขึ้นน้ำลงที่พบเป็นร่องน้ำเดิม จากนั้นก็แพร่กระจายไปเต็มครอบคลุมทั้งบริเวณ มีการสะสมของตะกอนทะเลบนหินพื้นล่าง การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเลทำให้เกิดป่าชายเลนเป็นแห่งๆ ตามพื้นที่ที่สูงกว่า โดยจะพบตะกอนของดินป่าชายเลนแทรกสลับอยู่กับชั้นตะกอนทะเล เมื่อน้ำทะเลไม่สามารถเข้ามาได้อีก จึงเกิดสภาพพื้นที่พรุมีการสะสมของอินทรีย์วัตถุในชั้นบนคุณสมบัติทางวิศวกรรมบริเวณพรุบาเจาะ การใช้ฐานรากตื้นในบริเวณพื้นที่พรุบาเจาะ จะต้องระมัดระวังมาก เนื่องจากชั้นดินอินทรีย์ในแต่ละจุดมีความลึกแตกต่างกันมาก บางจุดมีชั้นดินอินทรีย์อยู่ด้านล่าง การวางฐานรากตื้นจึงควรเจาะสำรวจก่อนทุกจุด ในบางบริเวณอาจลึกถึง 7 - 8 เมตร ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง การใช้เสาเข็มเป็นฐานรากก็ต้องระมัดระวังเช่นกัน เนื่องจากชั้นทรายที่อยู่ด้านล่างไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากการสะสมตะกอนแตกต่างกัน โดยเฉลี่ยจะลึกประมาณ 15 - 20 เมตร

ไม่มีความคิดเห็น: